COVID19: สาส์นจากคุณหมอ

Last updated: 1 Feb 2021  |  1477 Views  | 

ไกด์ไลน์โควิด19จากคุณหมอ

เมื่อไม่กี่วันก่อน ได้รับการส่งต่อบทความในหัวข้อ “เรื่องที่โรงงานและสถานประกอบการในเขตระบาดของ COVID-19 ควรรู้” จาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดอกเตอร์ วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนำไปปรับใช้กับห้างร้าน บริษัทฯของทุกคนต่อไป
โดยคุณหมอได้นำเสนอแนวคิดบางประการเพื่อจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อแผนกบุคคล/จป/ผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้มี guildline ในประเด็นที่ไม่ค่อยพบคำตอบอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไรก็ตามให้ยึดแนวทางจาก กท.สาธารณสุขเป็นหลัก

ปัจจัยควบคุมก่อนจะนำแนวทางจากคุณหมอไปอ้างอิงปรับใช้
  • ผู้เขียน(คุณหมอ)มีข้อสมมติว่าสถานประกอบการมีมาตรฐานทั่วไปทางด้านความปลอดภัยเป็นไปตามกฎระเบียบของกระทรวงอุตสาหกรรมและแรงงาน
  • ผู้เขียน(คุณหมอ)เชื่อว่า ผู้ประกอบการมีความรู้และดำเนินการพื้นฐานเกี่ยวกับโรคโควิด ซึ่งรวมทั้งแนวทางป้องกันด้านอนามัยส่วนบุคคล เช่น การสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง สุขอนามัยในการรับประทานอาหาร เป็นต้น 

ข้อเสนอแนวคิดบางส่วนจากคุณหมอ ที่ทางเราหยิบยกประเด็นหลักๆนำเสนอ

  1. สุขอนามัยพื้นฐานของสถานประกอบการสำคัญกว่าการตรวจคัดกรอง โดยเฉพาะราวจับ มือจับประตู เพราะส่วนใหญ่เคสที่เกิดขึ้นบางครั้งมีการป้องกันด้วยการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาแล้ว หากแต่ล้างมือไม่บ่อยพอ หรืออนามัยของสถานที่การเช็ดจุดสัมผัสไม่ดี จึงทำให้เชื้อติดจากการสัมผัสได้ แม้จะใส่หน้ากาก
  2. การจัดการคนเข้า-ออก เมื่อเราดูแลสถานประกอบการไปจนถึงอนามัยของผู้ทำงานในสถานประกอบการ หากแต่ถ้ายังมีเชื้ออยู่ภายนอก การที่คนเข้าออกสถานประกอบการเป็นจำนวนมากครั้ง หมายความว่ามีโอกาสนำเชื้อแพร่เข้าสู่สถานที่ทำงานได้ง่าย และยากต่อการควบคุม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะจำกัดจำนวน หรือวางระบบให้เข้าออกเท่าที่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อภายในสถานประกอบการ
  3. การติดตามพนักงานหรือสมาชิกที่ขาดงาน ลา หรือเจ็บป่วย ในช่วงโควิดระบาด ควรมีการสอบถามและตรวจสอบอาการสุขภาพของเพื่อนสมาชิก ถ้าสงสัยควรแนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อถ้าจำเป็น
  4. การทำความสะอาดฆ่าเชื้อในสำนักงาน หรือสถานประกอบการ ในห้อง ที่อยู่ หรือที่ทำงานของผู้ติดเชื้อโควิดอาจมีเชื้อหลงเหลืออยู่ โดยเชื้ออาจอยู่ได้ถึง 7 วัน แต่น้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ สบู่ แสงแดด สิ่งเหล่านี้ฆ่าเชื้อโควิดได้ผลดีมาก เพราะฉะนั้นควรเปิดหน้าต่าง หรือประตูให้ห้องมีโอกาสได้รับแสงแดด และอากาศถ่ายเทสะดวก ถ้าห้องปิดมิดชิด ควรมีหลอดยูวีฆ่าเชื้อ เปิดทิ้งค้างคืนไว้ก่อนเข้าทำความสะอาดปกติ
  5. การแพร่เชื้อระหว่างการทำงาน คนที่แพร่เชื้อจำนวนมากไม่แสดงอาการ และสามารถทำงานตามปกติ การทำงานจะแพร่ได้มากน้อยขนาดไหนขึ้นกับชนิดของงาน เช่น ทำงานใกล้ชิดกับบุคคลอื่นมากน้อยเพียงใด สถานที่เป็นห้องแคบหรือไม่ งานที่ต้องออกเสียงดังมีโอกาสทำให้ละอองลมหายใจได้แรงและไกล เช่น งานสอนหน้าชั้น งานนักร้อง งานบรรยาย พิธีกร
  6. การดูแลสุขภาพของผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ตามปกติโรงพยาบาลจะรับดูแลผู้ติดเชื้อทุกคน แต่ไม่สามารถรับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการได้ ดังนั้น จำเป็นต้องดูแลกันเองที่บ้าน หรือหอพักของสถานประกอบการ ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการส่วนใหญ่ไม่ต้องการการดูแลพิเศษ ยกเว้นการสอบถามอาการและวัดอุณหภูมิ ถ้ามีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม หอบ เหนื่อย มีไข้ ก็ต้องรายงานแพทย์ เพื่อเตรียมตัวได้รับการรักษาต่อไป
จากข้อนำเสนอทั้งหมดข้างบนที่สรุปมาเป็นเพียง “บางส่วน” จากทั้งหมดที่คุณหมอไล่เรียงเป็นข้อเสนอแนะ แนวทางปฎิบัติให้เราเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การดูแลไปจนถึงหากมีผู้ที่ติดโควิดในความดูแล และหากเราจำเป็นต้องปิดสถานประกอบการชั่วคราวเพื่อเคลียโควิด เราจะทำอย่างไรได้บ้าง

  

ทั้งนี้ เพิ่มเติมหรือฉบับเต็มจากคุณหมอสามารถดาวโหลดได้ที่ Link

With love,
Po K. Editor

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy